
คำว่า อย่าให้ราคา หลายคน อาจจะคุ้นหูกันบ้างแล้วข้อคิด “หงษ์ไม่กินข้าวกับหมา” อย่าให้ราคา คนไม่เห็นค่าเรา
บทความเรื่องนี้ อย ากให้ทุกคน ได้อ่ าน เพราะเป็นข้อคิด สยบคนไม่ดีด้วยปัญญา
เมื่อมีคนมาดูถูก เหยี ย ด ห ย า ม เราเรื่องนี้มีอยู่ว่า.. คือ สมัยก่อนที่ “คานธี”
ยังเรียนอยู่ที่อังกฤษ อาจารย์ไม่ชอบคานธี จึงมักจะพูด เ สี ย ด สี ให้เขาอับอายตลอดเวลา
และเขามักจะโดน อาจารย์บางคนดูถูก เพราะว่าเขาเป็นคนเอเชีย และยังมีผิวสี
จึงทำให้เข้ากับอาจารย์บางคน ไม่ค่อยได้วันหนึ่ง คานธีไปกินข้าวที่โรงอาหารและเดินไป
เพื่อจะนั่งร่วมโต๊ะกับอาจารย์ แต่อาจารย์กลับเอ่ยขึ้นมาว่า…คานธี เธอรู้ใช่ไหมว่า
“หงส์กับหมากินข้าวด้วยกันไม่ได้น่ะ”
คานธีนิ่งไปพักหนึ่ง และเขาก็นึกอะไรขึ้นมาได้ จึงตอบกลับอาจารย์ไปว่า…
“ครับ งั้นผมจะบินไปกินที่อื่นก็ได้ครับ” พร้อมกับถือจานข้าวลุก ไปอีกโต๊ะหนึ่ง
อาจารย์โกรธมาก ที่โดนแอบเปรียบตัวเองเป็นหมา จึงคิดหาทางเอาคืน
ในระหว่างที่อยู่ในชั้นเรียน อาจารย์จึงได้ตั้งคำถามกับคานธี ต่อหน้าเพื่อนคนอื่น
เพื่อหวังให้คานธีต้องอับอาย อาจารย์ถามคานธีว่า…ใถ้ามีกล่องอยู่ 2 ใบ
กล่องหนึ่งใส่ “ความรู้” อีกกล่องใส่ความ “ร่ำรวย”
เป็นเธอจะเลือกกล่องไหนคานธี ?
คานธีจึงตอบไปว่า..“ผมเลือกความร่ำรวยครับ”
อาจารย์ได้ฟังคำตอบก็ยิ้มเย้ยพร้อมกับพูดว่า..“ถ้าเป็นอาจารย์ จะเลือกกล่องความรู้นะ”
คานธียังนิ่งอยู่ครู่นึง.. แล้วก็นึกอะไรขึ้นได้ จึงตอบกลับไปว่า..
“ใช่แล้วครับ… เพราะคนเราก็ต้องอย ากได้ สิ่งที่ตัวเองไม่มีอยู่แล้วครับ”
เมื่ออาจารย์ฟังคำตอบ ก็ยิ่งเพิ่มความโกรธมากขึ้น แต่ก็ได้แค่เก็บไว้ในใจ วันต่อมา.
อาจารย์ตรวจข้อสอบ แต่คานธีกลับทำถูกหมดทุกข้ออาจารย์ไม่รู้จะทำยังไง
จึงเขียนใส่กระดาษคำตอบของคานธีว่า “ไอ้งั่ง”
เมื่อคานธีได้รับกระดาษคำตอบคืน ก็ตกใจกับสิ่งที่อาจารย์ทำเขานั่งคิดสักพัก
แล้วก็เดินไปหาอาจารย์พร้อมกับบอกว่า…
“อาจารย์ครับ อาจารย์เซ็นชื่อ แล้วแต่ลืมให้คะแนนครับ”
หากเป็นผู้ที่ต้องถูกกระทำอยู่ตลอดเวลา การตอบโต้ก็ไม่ใช่เรื่อง แ ย่เสมอไป
แต่เราสามารถ เลือกวิธีที่จะตอบโต้ได้ โดยไม่ต้องใช้กำลัง แล้วทำให้เกิดเรื่องใหญ่โต
ใช้ไหวพริบที่ดี ตอบโต้กลับ เพื่อให้เขาสำนึกบ้าง
“ก็เหมือนกับ คนที่ปาโคลนใส่ คนอื่น
มือของเขาก็จะเปื้อนโคลนก่อนเสมอ..
เพราะการดูถูกคนอื่น ไม่ได้ทำให้ดูสูงขึ้น
แต่ในทางกลับกัน มันทำให้คนอื่นรู้ว่า..
กำพืด ของเขา เป็นยังไง”