
“เมื่อลูก ไม่มีเพื่อน” พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร ให้สังเกตลูกดีๆว่า ลูกเคยมาเล่าเรื่องเพื่อน ที่โรงเรียนให้เราฟังไหม
วันนี้กินข้าวกับใคร หรือกินข้าวคนเดียว สิ่งเหล่านี้ เป็นคำถามที่จะทราบได้ว่า ลูกมีเพื่อนน้อยหรือ “ไม่มีเพื่อน”
การมีเพื่อน เป็นความสำคัญในแง่ของจิตใจ และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะในวัยรุ่น
จะช่วยสร้างความรู้สึกมีคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเองสำคัญคนที่ไม่มีเพื่อน ความโดดเดี่ยวจะ
เป็นส่วนหนึ่ง ของความเจ็บปวดในจิตใจอย่างมาก ให้กับวัยรุ่น ไม่เพียงเท่านั้น
ความรู้สึกว่าตนเอง ถูกปฏิเสธจากเพื่อนๆ ยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นอีกด้วย
การมีเพื่อนเยอะ ยังช่วยสร้างความมั่นใจ ทำให้รู้สึกปลอดภัย เพราะมีคนพูดคุย คนให้คำปรึกษา
ช่วยให้ไม่รู้สึกอ้างว้าง เดียวดาย ไม่ต้องกลัวว่าตนเองจะแปลกแยก แตกต่างจากผู้อื่น
ซึ่งความรู้สึกแปลกแยก เป็นสิ่งที่วัยรุ่น มักรู้สึกและกังวลใจ การมีเพื่อนที่มีความคิดคล้ายๆ กัน
ชื่นชอบอะไรเหมือนกัน จะช่วยลดความรู้สึกเหล่านี้ได้ สิ่งสำคัญของการมีเพื่อนคือ
วัยรุ่น เป็นวัยลองผิดลองถูก การมีเพื่อนทำให้พวกเขาได้ฝึกใช้ทักษะทางสังคม
เพื่อตรวจสอบคุณค่า ที่ตนเองยึดถือในชีวิต ค้นหาตัวตนและ แนวทางผ่านประสบการณ์
ที่ได้ใช้เวลาร่วมกับเพื่อนๆ ซึ่งจะเป็นรากฐาน ต่อการพัฒนาตัวตนในวัยผู้ใหญ่ต่อไป
แล้วพ่อแม่จะช่วยลูกอย่างไร เมื่อลูกไม่มีเพื่อน
1.ชวนลูกทำกิจกรรมหลากหลาย
เมื่อลูกรับรู้ว่า ตนเองมีข้อดี จุดเด่นด้านใด และมีความมั่นใจในตนเองพอสมควรแล้ว
ควรส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมหลากหลาย ทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น การเข้าชมรม ไปค่ายอาสา ฯลฯ
ควรเลือกกิจกรรม ที่ลูกสนใจจะช่วยให้ลูกมีความสุข และเป็นตัวของตัวเอง การพาลูกไปอยู่
ในสภาพแวดล้อมทางสังคมกับผู้คนใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เป็นแนวทางที่ดีที่ช่วยสร้างมิตรภาพใหม่ๆ
2.ประเมินการใช้เวลาของลูกในแต่ละวัน
บางครั้ง กิจกรรมที่ลูกทำในแต่ละวัน อาจหมดไปกับการอยู่คนเดียว เช่น เล่นเกมออนไลน์ เล่นโทรศัพท์
ใช้อินเทอร์เน็ตนานๆ จนทำให้ ไม่ได้ออกไปพบเจอผู้คนจริงๆ ในชีวิต หากรู้สึกว่าลูกไม่มีเพื่อนคุย
เป็นเพราะลูกเก็บตัว ใช้เวลาคนเดียว เรียนหนัก หรือเล่นหน้าจอมากเกินไป พ่อแม่ควรประเมิน
การใช้เวลาของลูก และช่วยปรับตารางเวลา ในแต่ละวันให้สมดุล
เพื่อให้ลูก มีโอกาสออกไปทำกิจกรรม ที่ได้พบเจอเพื่อนฝูง ผู้คนในสังคมมากขึ้น
3. อย่าบอกให้ลูกเปลี่ยนตัวเอง
วัยรุ่นมักมีตัวตนที่เปราะบางและ จิตใจที่อ่อนไหว การไม่มีเพื่อน ย่อมทำให้พวกเขารู้สึกสงสัย
ในตนเองมากพออยู่แล้ว หากพ่อแม่บอก ให้ลูกปรับปรุงตัว ก็อาจยิ่งตอกย้ำ ให้วัยรุ่นคิดว่า
ตัวตนของพวกเขา มีปัญหาและเป็นสาเหตุที่เพื่อนๆ ไม่อยากคบหาด้วย ทางกลับกัน
ควรพูดถึงคุณลักษณะที่ดีของลูก เช่น ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี หากใครได้เป็นเพื่อนก็คงสบายใจ
เพราะลูกจะคอยรับฟังปัญหาของเพื่อนๆ ได้ หรือ ลูกดูแลคนรอบข้างได้ดี หากได้ไปเที่ยวกับเพื่อน
เพื่อนคงประทับใจ ที่ลูกช่วยดูแล การระบุข้อดีของลูกคื อขั้นตอนแรกที่พ่อแม่จะช่วย
ให้วัยรุ่นเห็นคุณค่าในตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจ ในขั้นต่อไป
4.บอกให้รู้ว่ามิตรภาพบังคับไม่ได้
มิตรภาพก็เหมือนความสัมพันธ์ รูปแบบอื่นๆ ที่ต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ หากจะพยายามบังคับ
หรือฝืนใจ อาจทำให้เกิดปัญหาและความขั ดแ ย้งตามมาภายหลัง มิตรภาพที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ต้องฝืนตัวเอง มักเป็นมิตรภาพที่ไม่ยั่งยืน หากรู้สึกว่า..ลูกวัยรุ่นกำลังอยู่ในมิตรภาพ ที่เป็นพิษ
เช่น ถูกเพื่อนหลอกใช้ หรือต้องเปลี่ยนตัวเองมากมายเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ ควรชี้ให้ลูกเห็นว่า..
มิตรภาพดีๆ ยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีกมาก เพียงแค่ลูกกล้าเป็นตัวเอง
สุดท้ายแล้ว การถูกปฏิเสธจากเพื่อนๆ อาจสร้างความเจ็บปวดทางใจได้ ไม่ต่างจากถูกทำร้ายร่างกาย
การตอบสนองของพ่อแม่ จึงมีความสำคัญ พ่อแม่ไม่ควรทำให้วัยรุ่นรู้สึกว่า..
การไม่มีเพื่อน เป็นเรื่องเล็กน้อย ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรตีโพยตีพายใหญ่โต พ่อแม่ควรควบคุมอารมณ์
เป็นผู้ฟังที่ดี และหาทางสนับสนุนให้กำลังใจ คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ จากพ่อแม่ในเวลาที่เหมาะสม
จะช่วยให้ลูกเติบโตจากประสบการณ์ และก้าวผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ในที่สุด
“ไม่มีครอบครัวไหนทีสมบูรณ์แบบ เราโต้เถียงกันทุกวัน แต่ในท้ายที่สุดแล้ว ครอบครัวก็คือ ครอบครัว ความรักยังคงอยู่ที่เดิมเสมอ”
แหล่งอ้างอิง : Sources