Home แม่ลูก.. 3 วิธี เลี้ยงลูกอย่างไร ให้มี “สุขภาพใจ” ที่เข้มแข็งและแข็งแรง

3 วิธี เลี้ยงลูกอย่างไร ให้มี “สุขภาพใจ” ที่เข้มแข็งและแข็งแรง

0 second read
ปิดความเห็น บน 3 วิธี เลี้ยงลูกอย่างไร ให้มี “สุขภาพใจ” ที่เข้มแข็งและแข็งแรง
0

นอกเหนือจากการดูแลลูก เรื่องอาหารการกิน การนอนแล้ว เรื่อง สุขภาพใจ ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน

เพื่อให้ลูกมี สุขภาพใจ สุขภาพกายที่สมบูรณแข็งแรง ภาระกิจที่สำคัญยิ่ง สำหรับพ่อแม่ก็คือ…

จะเลี้ยงลูกอย่างไร ให้มีคุณภาพ ทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายที่แข็งแรง ไปดูกันเลยค่าาา

1. ต้องเห็นว่าส่วนนี้มีอยู่จริง

มีความตั้งใจที่จะพัฒนา เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่ มักบอกว่า “ฉันรักลูก” “เขาเจตนาดีจริงๆ”

แต่วิธีการที่ใช้ ไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดี ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย เช่น การตามใจลูกมากเกินไป

ลูกจึงกลายเป็นคน ไม่มีความอดทน เอาแต่ใจ ไม่เห็นใจคนอื่น เข้ากับคนอื่นไม่ได้

2. ต้องมีเจตนาที่ดี และมีความรู้ด้วยว่าใช้วีธีไหนถึงจะได้ผล

3. เรื่องของเวลา

เราต่างรู้ดีไม่ว่า..ฐานะทางบ้านจะปานกลาง หรือร่ำรวย เวลาในชีวิตของแต่ละคน

มักจะมีไม่ค่อยพอ เนื่องจาก หน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น จึงควรจัดลำดับความสำคัญ

ถ้าจัดไม่ได้ก็คงลำบาก ดังนั้น หลายครอบครัว จึงฝากความหวังไว้ที่เนอสเซอรี่

หรือสถานรับดูแลเด็ก ซึ่งส่วนมาก จะรับผิดชอบได้ ในเรื่องการดูแลทางกายเท่านั้น

เช่น ป้อนข้าว ป้อนน้ำ อาบน้ำ แต่งตัว แต่จะสามารถดูแลไปจนถึง เรื่องการพัฒนาด้านจิตใจ

ได้หรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องยาก ที่จะหาคนเลี้ยง ที่จะทุ่มเทเหมือนพ่อแม่ได้

ดังนั้น พ่อแม่ทุกคนควรให้ความสำคัญ กับพัฒนาการในลูกวัยเล็ก เพราะ

พัฒนาการของเด็ก เป็นสิ่งที่รอไม่ได้ ถ้าไม่ยอมเหนื่อยตอนนี้ ก็คงต้องเหนื่อยตอนโต

ถ้าเกิดมีปัญหา ตอนนั้น จะแก้ยาก พูดกันไม่รู้เรื่อง ซึ่งอาจทำให้ลูกมีปัญหาด้านต่างๆ

ที่ทำให้คนเป็นพ่อแม่ต้องปวดใจ เช่น ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่เรียนหนังสือ เที่ยวเตร็ดเตร่

ไปซิ่งรถ  ซ้ำไปกว่านั้น พ่อแม่อาจมองไม่เห็น ปัญหาที่ลูกกำลังเผชิญอยู่เลยก็เป็นได้นะคะ

พฤติกรรมที่พ่อแม่ควรดูแลเป็นพิเศษ

ตามที่กล่าวมา วิธีการเลี้ยงลูก แบบเอาอกเอาใจลูกมากเกินไป ไม่ช่วยให้เกิดผลดีแน่นอน

เพราะลูก อาจกลายเป็นคนเอาแต่ใจได้ในที่สุด ดังนั้น ควรสังเกต เรื่องการมีปฏิสัมพันธ์

กับผู้อื่นว่า..มีปัญหาหรือไม่ เช่น ทำไมเอาแต่ใจตัวเองแบบนี้ ไม่มีใครมายุ่ง

ไม่มีใครอยากเป็นเพื่อน อย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า ลูกเริ่มมีพัฒนาการไม่ค่อยจะดีแล้ว

พ่อแม่ จึงควรทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ฝึกให้เด็กรู้ว่า คนเรามีความรู้สึกไม่พอใจได้

แต่ต้องแสดงออกให้เหมาะสม สอนให้เด็กรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

รู้จักสิทธิ์ของตนเอง และเคารพสิทธิ์ผู้อื่น มีทักษะในการควบคุมอารมณ์ตนเอง

อีกสิ่งหนึ่ง ที่ไม่ควรละเลยคือ เรื่องความรับผิดชอบ เริ่มต้นด้วยการสอนให้ลูก

มีความรับผิดชอบในตนเอง อย่างสมวัยด้วย หน้าที่เบื้องต้น เช่น ตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว

และหากลูก มีความรับผิดชอบตัวเองได้ดี ไม่เป็นปัญหาหรือภาระกับใคร

ไปอยู่ที่ไหนก็เข้ากับเขาได้ เพื่อนๆ ยอมรับ ก็นับว่า..เป็นพัฒนาการในทางที่ดีแล้ว

เพราะเมื่อลูก โตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ถึงแม้ว่า จะเรียนเกรดดี ได้เกียรตินิยม

แต่ทำงานร่วมกับผู้อื่นยังไม่ได้ ก็คงยาก ที่จะก้าวหน้าหรือพัฒนาต่อไป

การเลี้ยงลูกนั้น เป็นงานระยะยาว และวัดผลตอนจบ ตอนเป็นวัยรุ่น เราก็รู้ว่ามีความเสี่ยงมากมาย

หากความสัมพันธ์เดิมของครอบครัวนั้น แข็งแรงดี โอกาสที่ลูกจะฟัง และแคร์ความรู้สึกพ่อแม่

ก็จะมีเยอะกว่าหน่อย ในทางตรงกันข้าม หากความสัมพันธ์เดิมไม่ค่อยดี

จะแก้ไขอะไรก็จะยากหน่อย เพราะเขาไม่เปิดใจ ไม่รับฟัง การแก้ไขปรับพฤติกรรมเด็กเป็นงานยาก

ต้องใช้ความอดทน ความพยายาม และความสม่ำเสมอ แต่ถ้าทำได้สำเร็จก็ถือว่า

คุ้มค่าเหนื่อย เพราะเราจะได้คนที่เป็นผู้ใหญ่ ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี

ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อสังคมไทย ที่ต้องการความสงบและความสมานฉันท์ เช่นในยุคสมัยนี้

“ภูมิคุ้มกันของเด็กที่ดีที่สุดคือ ความรักจากครอบครัว”

 

ขอบคุณ: นายแพทย์ไกรสิทธิ์

Load More Related Articles
Load More By Lookmhoo Chonticha
Load More In แม่ลูก..

Check Also

7 พฤติกร ร มที่พ่อแม่…ทำให้ลูกเป็นเด็ก “ไม่รู้จักโต”

อย่างไรก็ดีเพราะพ่อและแม่ คือคนที่รักและหวังดีกับลูกมาก … …